หมู่บ้านเด็กตะวันฉายค่อย ๆ พัฒนามาตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาอย่างไร
เป้าหมายของเราคือ การจัดตั้งหมู่บ้านเด็กที่สามารถรองรับเด็กกำพร้าและเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือให้ได้มากถึง 100 คน เป้าหมายของเราคือ การสร้างบรรยากาศที่ใกล้เคียงกับชีวิตครอบครัวตามปกติมากที่สุดให้กับเด็ก ๆ สิ่งหนึ่งที่เราให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกคือ การให้การศึกษาที่ดีแก่เด็ก ซึ่งจะทำให้พวกเขามีอนาคตที่ดีขึ้นเมื่อพวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่
โครงการของเราคือ การสร้างหมู่บ้านเด็กตามแนวคิด SOS Kinderdorf (หมู่บ้านสำหรับเด็ก) ซึ่งเป็นความคิดริเริ่มของ Hermann Gmeiner ชาวออสเตรียในเมืองเล็ก ๆ ของชาว Tyrolean ชื่อเมือง Imst ในปีพ.ศ. 2492 หมู่บ้านเด็กมุ่งเน้นไปที่ความต้องการที่จะให้เด็ก ๆ ไม่ว่าจะเป็นเด็กกำพร้าหรือเด็กที่ไม่สามารถอยู่กับพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดได้อีกต่อไป ได้มีสภาพแวดล้อมที่มั่นคงเพื่อการดำรงชีวิตต่อไป
หมู่บ้านเด็กของเรามุ่งเน้นไปที่การดูแลเด็กแบบครอบครัว เป็นการดูแลในระยะยาว เด็กจะได้สัมผัสกับความสัมพันธ์และความรักที่เชื่อถือได้อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งหมายความว่าพวกเขาสามารถฟื้นฟูจากสิ่งที่เคยประสบมาซึ่งมักจะทำให้เกิดความบอบช้ำทางจิตใจ พวกเขาจะเติบโตในสภาพแวดล้อมครอบครัวที่มั่นคงและได้รับการสนับสนุนเป็นรายบุคคลจนกว่าพวกเขาจะกลายเป็นคนหนุ่มสาวที่เป็นอิสระหรือจนกว่าสถานการณ์ครอบครัวของพวกเขาจะดีขึ้นอย่างมาก
เราช่วยให้บุตรหลานของเรามีอนาคตที่ดีขึ้นโดยการพัฒนาทักษะทางสังคม ความรู้เกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมไทย สอนพวกเขาเกี่ยวกับค่านิยมและความรับผิดชอบของครอบครัว การอบรมเลี้ยงดูในสภาพแวดล้อมแบบครอบครัวด้วยความรัก การทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และการดูแลสุขภาพที่ดีเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะเป็นหลักประกันอนาคตที่ดีกว่าสำหรับเด็กเหล่านี้ แนวคิดนี้มีพื้นฐานมาจากสี่ประเด็นหลัก:
เด็กทุกคนต้องการการดูแลจากผู้ปกครองที่สร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเด็กแต่ละคน
เด็ก ๆ เติบโตขึ้นมาในครอบครัวที่มีเด็กหญิงและเด็กชายอายุต่างกันเป็นพี่น้องกัน
ครอบครัวเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนที่ทำหน้าที่เป็นระบบสนับสนุน
พี่น้องทางสายเลือดจะไม่แยกจากกันหากเป็นไปได้และหากเป็นไปเพื่อผลประโยชน์สูงสุดของเด็ก
บางครั้ง เราถูกเข้าใจผิดว่าเป็น "สถานเลี้ยงเด็กกำพร้า"
เราจึงต้องการที่จะแก้ไขความเข้าใจดังกล่าวว่า จริง ๆ แล้ว เราเป็น “สถานสงเคราะห์ด็กพึงได้รับการสงเคราะห์” เนื่องจากเด็ก ๆ ของเราส่วนใหญ่ยังคงมีครอบครัวอยู่ เด็กๆ อยู่กับเราเพราะตอนนี้ครอบครัวของพวกเขาเองไม่สามารถดูแลพวกเขาได้อย่างเหมาะสม
สำหรับเด็กที่ไม่มีทางเลือกที่ปลอดภัยในการอยู่ร่วมกับญาติพี่น้อง มูลนิธิหมู่บ้านเด็กตะวันฉายได้ให้การดูแลแบบครอบครัวอุปถัมภ์ในระยะสั้นและระยะยาวตามคำแนะนำของผู้บริหารกฎหมายคุ้มครองเด็กของประเทศไทย เด็กทุกคนในความดูแลของเราอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบครอบครัวภายในหมู่บ้านหมู่บ้านตะวันฉาย
หลายครอบครัวที่ยากจนมอบความไว้วางใจให้กับสถาบันต่าง ๆ ดูแลบุตรหลานของตน โดยเชื่อว่าสิ่งนี้จะนำไปสู่ทางออกจากความยากจน อย่างไรก็ตาม การดูแลเด็กโดยสถาบันอาจมีผลเสียในระยะยาวและและบางครั้งก็ส่งผลเสียต่อการพัฒนาการของเด็กที่ไม่อาจนำกลับคืนมาได้อีกด้วย
เจ้าหน้าที่ของเราที่หมู่บ้านเด็กตะวันฉายมีการตรวจสอบครอบครัวของเด็ก ๆ อยู่เสมอ และเรามุ่งมั่นที่จะช่วยพาเด็ก ๆ กลับไปสู่ครอบครัวที่เหลืออยู่ของพวกเขาและทำให้เด็ก ๆ ได้สัมผัสกับชีวิตครอบครัวตามปกติในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและห่วงใย
โดยปกติ ครอบครัว (ที่เหลืออยู่) ของเด็กที่อยู่ในความดูแลของเราสามารถเยี่ยมเด็กๆ ที่หมู่บ้านได้เป็นประจำ และเราก็อนุญาตให้เด็กอยู่กับครอบครัวในช่วงสุดสัปดาห์ได้ตามความเหมาะสม
เพื่อที่จะรวมเด็กทุกคนเข้ากับชีวิตทางสังคมของบ้านใหม่ของพวกเขา เราได้จัดกิจกรรมต่างๆ ที่หลากหลาย เช่น:
- กีฬา
- ยิมนาสติก
- ว่ายน้ำ
- การทำสมาธิ
- งานฝีมือ
- การเต้นรำ
- การทำสวน
- การทำอาหาร
- บทเรียนการแล่นเรือใบ
- ศาสนศึกษาและสังคมศึกษา
- ทัศนศึกษาเพื่อการศึกษาและเพื่อความสนุกสนาน
- และการเล่นอื่น ๆ อีกมากมาย
มูลนิธิหมู่บ้านเด็กตะวันฉาย 15/20 ซอยน้ำหนึ่งใจเดียว หมู่ 1 ถนนเทียมประชาอุทิศ เกาะสิเหร่ ตำบลรัษฎา อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 83000 info(@)phuketsunshinevillage.org / Phone & Fax: +66-(0 ) 76-614-116 - ออกแบบโดย: dp